เมนู

กรุงราชคฤห์. แม้ภิกษุผู้ทำสังคายนาเหล่าอื่นก็ไปเหมือนกัน ความจริง
ท่านหมายเอาภิกษุเหล่านั้นที่ไปกรุงราชคฤห์อย่างนี้ กล่าวคำนี้ไว้ว่า ครั้ง
นั้นแล ภิกษุชั้นพระเถระได้ไปกรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระธรรม
และพระวินัย. พระเถระ.เหล่านั้น ทำอุโบสถในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8
ประชุมเข้าพรรษาในวันแรม 1 ค่ำ.

ปฐมสังคายนาเริ่มวันแรม 5 ค่ำ เดือน 9


ก็โดยสมัยนั้นแล มีวัดใหญ่ 18 วัด ล้อมรอบกรุงราชคฤห์. วัด
เหล่านั้นมีหยากเยื่อถูกทิ้งเรี่ยราดไปทั้งนั้น เพราะในเวลาเสด็จปรินิพพาน
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุทั้งหมดต่างก็ถือบาตรจีวรของตน ๆ ทิ้ง
วัดและบริเวณไป. ครั้งนั้น พระเถระทั้งหลาย เมื่อจะทำข้อตกลงเกี่ยวกับ
การปฏิสังขรณ์วัดเหล่านั้น ได้คิดกันว่า พวกเราต้องทำการปฏิสังขรณ์สิ่ง
ชำรุดทรุดโทรมตลอดเดือนต้นของพรรษา เพื่อบูชาคำสอนของพระผู้มี
พระภาคเจ้า
และเพื่อเปลื้องคำติเตียนของเดียรถีย์. เพราะพวกเดียรถีย์
จะพึงกล่าวติอย่างนี้ว่า สาวกของพระสมณโคดมบำรุงวัดวาอารามแต่เมื่อ
พระศาสดายังมีพระชนม์อยู่เท่านั้น เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว ก็พากัน
ทอดทิ้งเสีย การบริจาคทรัพย์เป็นจำนวนมากของตระกูลทั้งหลายย่อมเสีย
หายไปโดยทำนองนี้. มีคำอธิบายว่า ที่พระเถระทั้งหลายคิดกันก็เพื่อจะ
เปลื้องคำติเตียนของเดียรถีย์เหล่านั้น. ครั้นคิดอย่างนี้แล้ว จึงได้ทำข้อ
ตกลงกัน ซึ่งท่านหมายเอาข้อตกลงนั้น กล่าวว่า ครั้งนั้นแล ภิกษุชั้น
พระเถระทั้งหลายได้ปรึกษากันว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงสรรเสริญการปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรม
บัดนี้ เราทั้งหลายจงทำการปฏิสังขรณ์สิ่งที่ชำรุดทรุดโทรมตลอดเดือนต้น

พรรษา จักประชุมสังคายนาพระธรรมและพระวินัยในเดือนกลางพรรษา.
ในวันที่ 2 พระเถระเหล่านั้นได้ไปยืนอยู่ที่ประตูพระราชวัง.
พระเจ้าอชาตศัตรูเสด็จมานมัสการแล้ว มีพระราดำรัสถามถึงกิจที่พระ
องค์ทำว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย มาธุระอะไร เจ้าข้า ? พระเถระทั้งหลาย
ถวายพระพรให้ทรงทราบถึงงานฝีมือ เพื่อประโยชน์แก่การปฏิสังขรณ์วัด
ใหญ่ 18 วัด. พระเจ้าอชาตศัตรูได้พระราชทานคนที่ทำงานฝีมือ. พระ
เถระให้ปฏิสังขรณ์วัดทั้งหมดตลอดเดือนต้นฤดูฝนเสร็จแล้ว ถวายพระพร
แด่พระเจ้าอชาตศัตรูว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร งานปฏิสังขรณ์วัด
เสร็จแล้ว บัดนี้อาตมภาพทั้งหลาย จะทำการสังคายนาพระธรรมและ
พระวินัย. พระเจ้าอชาตศัตรูมีพระราชดำรัสว่า ดีแล้ว เจ้าข้า พระ
คุณเจ้าทั้งหลายไม่ต้องหนักใจ นิมนต์ทำเถิด การฝ่ายอาณาจักรขอให้เป็น
หน้าที่ของโยม ส่วนการฝ่ายธรรนจักร ขอให้เป็นหน้าที่ของพระคุณเจ้า
ทั้งหลาย โยมจะต้องทำอะไรบ้าง โปรดสั่งมาเถิด เจ้าข้า. พระเถระทั้ง-
หลายถวายพระพรว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร ขอพระองค์ได้โปรด
ให้ทำที่นั่งประชุมสำหรับภิกษุทั้งหลายผู้ทำสังคายนา. จะทำที่ไหน เจ้า-
ข้า ? ขอถวายพระพรมหาบพิตร ควรทำใกล้ประตูถ้ำสัตตบรรณ ข้าง
ภูเขาเวภาระ. พระเจ้าอชาตศัตรูมีพระราชกระแสว่า เหมาะดี เจ้าข้า
แล้วโปรดให้สร้างมณฑปมีเครื่องประดับวิเศษที่น่าชม มีทรวดทรงสัณฐาน
เช่นอาคารอันวิษณุกรรมเทพบุตรเนรมิตไว้ มีฝาเสาและบันไดจัดแบ่งไว้
เป็นอย่างดี มีความงานวิจิตรไปด้วยมาลากรรมและลดากรรมนานาชนิดพิศ
แล้วประหนึ่งว่า จะครอบงำความงามแห่งพระตำหนักของพระราชา งาม
สง่าเหมือนจะเย้ยหยันความงามของเทพวิมาน ปานประหนึ่งว่า สถานเป็น

ที่รวมอยู่ของโชควาสนา ราวกะว่าท่าที่รวนลงของฝูงวิหค คือนัยนาแห่ง
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพียงดังภาพที่งามตาน่ารื่นรมย์ในโลก ซึ่ง
ประนวลไว้ในที่เดียวกัน มีเพดานงามยวนคาเหมือนจะคายออกซึ่งพวง
ดอกไม้ชนิดต่าง ๆ และไข่มุกที่ห้อยอยู่ ดูประหนึ่งฟันระดับ ซึ่งปรับ
ด้วยทับทิม วิจิตรไปด้วยรัตนะต่าง ๆ มีแท่นที่สำเร็จเรียบร้อยดี ด้วย
ดอกไม้บูชานานาชนิด ประดับ ให้วิจิตรละม้ายคล้ายพิมานพรหม โปรด
ให้ปูลาดอาสนะอันเป็นกัปปิยะ 500 ที่ มีค่านับมิได้ ในมหามณฑปนั้น
สำหรับ ภิกษุ 500 รูป ให้ปูลาดที่นั่งพระเถระ หันหน้าทางทิศเหนือ
หันหลังทางทิศใต้ ให้ปูลาดที่นั่ง แสดงธรรมอันควรแก่การประทับนั่งของ
พระพุทธเจ้าผู้มีบุญ หันหน้าทางทิศตะวันออก ในท่ามกลางมณฑป วาง
พัดทำด้วยงาช้างไว้บนธรรมาสน์นั้น แล้วมีรับสั่งให้แจ้งแก่ภิกษุสงฆ์ว่า
กิจของโยมเสร็จแล้ว เจ้าข้า.
ก็และในวันนั้น ภิกษุบางพวกได้พูดพาดพิงถึงท่านพระอานนท์
อย่างนี้ว่า ในหมู่ภิกษุนี้ มีภิกษุรูปหนึ่งเที่ยวโชยกลิ่นคาวอยู่. พระ
อานนท์เถระ
ได้ยินคำนั้นแล้ว ถึงความสังเวชว่า ภิกษุรูปอื่นที่ชื่อว่าเที่ยว
โชยกลิ่นคาว ไม่มีในหมู่ภิกษุนี้ ภิกษุเหล่านี้คงพูดหมายถึงเราเป็นแน่.
ภิกษุบางพวกกล่าวกะพระอานนท์นั้นว่า ดูก่อนท่านอานนท์ การประชุม
ทำสังคายนาจักมีในวันพรุ่งนี้ แต่ท่านยังเป็นพระเสขะ ยังมีกิจที่จะต้องทำ
ด้วยเหตุนั้นท่านไม่ควรเข้าประชุม ท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด.

พระอานนท์บรรลุพระอรหัต


ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์คิดว่า พรุ่งนี้เป็นวันประชุมทำสัง-
คายนา การที่เรายังเป็นพระเสขะอยู่ จะเข้าประชุมด้วยนั้น ไม่สมควรแก่